Phra Nirantarai, Wat Ratchabophit
Phra Nirantarai, Phra Ubosot, Wat Ratchabophit พระนิรันตราย ประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าพระพุทธอังคีรส ในพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อขึ้นจากพระนิรันตรายองค์ต้นแบบจํานวน ๑๘ องค์ เท่ากับจํานวนปีที่ทรงครองราชย์ เพื่อพระราชทานไปตามวัดต่างๆ และพระราชทานพระนามว่า พระนิรันตราย ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระนิรันตรายทั้ง ๑๘ องค์ไปประดิษฐานยังวัดต่างๆ ที่เป็นธรรมยุติกนิกาย
พระนิรันตรายองค์เดิมต้นแบบนั้นมีความเป็นมาว่า มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปทองคําสมัยทวารวดีจากเมืองศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี และได้อัญเชิญมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่หอเสถียรธรรมปริตร่วมกับพระกริ่ง ต่อมามีคนร้ายได้เข้ามาลักเอาพระกริ่งไป แต่ไม่ได้นําพระพุทธรูปทองไป จึงทรงพระดําริว่าพระพุทธรูปองค์นี้เมื่อขุดพบก็ไม่มีอันตราย และเมื่อมีคนร้ายลอบเข้ามาก็ไม่ได้นําไป จึงถวายพระนามว่า “พระนิรันตราย” และทรงพระราชดําริให้ช่างหล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งด้วยทองคําสวมทับพระพุทธรูปทวารวดีองค์นั้นไว้ เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร และถวายพระนามว่า “พระนิรันตราย” เช่นเดียวกัน และต่อมาจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระนิรันตรายตามแบบอย่างที่พระองค์ทรงดําริขึ้น คือ องค์ที่สร้างครอบอีก ๑๘ องค์ เพื่อพระราชทานไปยังวัดต่างๆ
ลักษณะพิเศษของพระนิรันตรายทั้ง ๑๘ องค์ จะมีส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากองค์ต้นแบบ คือ มีซุ้มเรือนแก้วที่เพิ่มลวดลายใบไม้ประดับล้อมรอบอีกชั้นหนึ่งคล้ายต้นพระศรีมหาโพธิ์ ใบไม้ตามซุ้มจารึกอักษรขอมภาษาบาลีเป็นคาถา พระพุทธคุณ บทอิติปิโส ภควาฯ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ที่ยอดซุ้มเรือนแก้วประดับตราพระมหามงกุฏ พระบรมราชสัญลักษณ์ของพระลักษณะพิเศษของพระนิรันตรายทั้ง ๑๘ องค์ จะมีส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากองค์ต้นแบบ คือ มีซุ้มเรือนแก้วที่เพิ่มลวดลายใบไม้ประดับล้อมรอบอีกชั้นหนึ่งคล้ายต้นพระศรีมหาโพธิ์ ใบไม้ตามซุ้มจารึกอักษรขอมภาษาบาลีเป็นคาถา บทอิติปิโส ภควาฯ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ พระพุทธคุณ ๙ ประการคือ อรหํ (ทรงเป็นพระอรหันต์) สมฺมาสมฺพุทฺโธ (ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง) วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ) สุคโต (ทรงเสด็จไปดีแล้ว) โลกวิทู (ทรงรู้แจ้งโลก) อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (ทรงฝึกผู้ควรฝึกไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า) สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย) พุทฺโธ (ทรงเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน) ภควาติ (ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม) ที่ยอดซุ้มเรือนแก้วประดับตราพระมหามงกุฎ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔
Information from: หนังสือนำชมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวาระศุภมงคลสมัย ๑๕๐ ปีแห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=259600421854275&set=a.242989830182001&type=3&theater